วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การสังเกตเพศปลากัด

7.การสังเกตเพศปลากัด ได้ดังนี้
1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบนลำตัวเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัดอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของ
ตัวเมียจะสั้นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ปลากัด
มีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมีย แม้มีอายุเท่าๆ กัน


ปลากัดเขมร

6.ปลากัดเขมร
เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยง

ปลากัดจีน

5.ปลากัดจีน
เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงามฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะไม่มีความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม

ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ

4.ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ
เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะนอกจากจะกัดเก่ง ทรหดอดทนแล้ว ยังมีสีสันตามลำตัวสวยงาม เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ปลากัดหม้อจะมีลักษณะตัวโตกว่าปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง แต่ครีบหางครีบหลังจะสั้นกว่า หางสั้นเป็นรูปพัดไม่ค่อยตื่นตกใจง่าย ส่วนตัวเมียครีบหางครีบหลังและตะเกียบสั้น สีซีดกว่าตัวผู้ ปลากัดหม้อเกิดจากการคัดสายพันธุ์ลูกทุ่งลูกป่า จับมาเลี้ยงมาฝึกให้ต่อสู้และอดทน ผสมพันธุ์กันจนได้สายพันธุ์ใหม่กันขึ้นมาว่ากันว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน

ปลากัดที่คนไทยนิยมเลี้ยง

3.ปลากัดที่คนไทยนิยมเลี้ยง
         ปลากัด(Battle Fish) เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนองบึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นๆ น้ำค่อนข้างใส น้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปราย ชอบว่ายน้ำช้าๆ บริเวณผิวน้ำ
ปลากัดลูกทุ่งหรือปลากัดลูกป่า
เป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไปขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาวครีบก้น ครีบหลังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีดและมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้องระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไว แต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้

ลักษณะของปลาพลวงหิน

2.ลักษณะของปลาพลวงหิน   ลำตัวทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อย หัวมน ปากเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือ เหลือบสีทอง ด้านข้างมีสีเหลือบเงิน มีแถบสีคล้ำพาดยาวไปถึงโคนหาง ครีบหางเว้าลึก เป็นแฉก มีแถบสีคล้ำที่ขอบทั้ง 2 แฉก อาหารของปลาพลวง แมลง พืช และผลไม้ และถิ่นอาศัยของปลาพลวง มักอยู่ร่วมกันเป็นฝูง บริเวณน้ำตกและลำธารบนภูเขาที่มีน้ำไหลแรง
ลักษณะของสีข้างลำตัว ประกอบด้วยแถบสีจำนวน 4 สี (เมื่อนับล่างส่วนท้องขึ้นมาด้านหลังปลา) 
แถบที่ในส่วนท้องเกล็ดจะเป็นสีขาวทอดยาวจากมุมปากด้านล่างไปถึงโคนห่าง 
แถบที่   2 ในส่วนที่ถัดมาเป็นแถบสีดำพาดยาวตั้งแต่ด้านหลังตาไล่ตามเส้นข้างตัวถึงโคนห่าง
แถบที่   3   ในส่วนที่ถัดขึ้นมาเหนือเส้นข้างลำตัวเป็นแถบสีเหลืองปนสีเขียวอ่อนๆ โดยเริ่มปรากฏสีตั้งแต่ด้านหลังตาถึง   โคนห่าง
แถบที่   4   แถบสุดท้ายเป็นสีเขียวปนเหลืองอ่อนๆ เริ่มตั้งแต่ส่วนหัวเหนือปากด้านบน ถึงโคนห่าง   
เที่ยวดูปลาพวงหิน ไปกลับหมูหิน.คอม http://www.moohin.com/trips/chanthaburi/priew/

ปลา

     
     1.ปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ทางภาคเหนือมีชื่อเรียกว่า ปลามุง ภาคกลางและ ภาคใต้เรียกว่าปลาพลวง หรือพลวงหิน เป็นปลาในตระกูล Cyprinidae ที่มีขนาดกลาง น้ำหนักมากที่สุด พบที่ถ้ำปลาจังหวัดแม่ฮ่องสอน 15-20 กิโลกรัม ยาว 1 เมตร ลำตัวยาว แบนด้านข้าง มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็กมีหนวด 2 คู่ อยู่บนปาก (Rostral barbels) และมุมปาก (Maxillary barbells) ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว เขียวปนน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลปนดำเข้ม ซึ่งสีของปลาชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ (กรมประมง, 2525) จะมีแถบสีดำเริ่มจากบริเวณหัวหลังตาเรื่อยไปจนถึงโคนหาง