วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การสังเกตเพศปลากัด

7.การสังเกตเพศปลากัด ได้ดังนี้
1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบนลำตัวเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัดอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของ
ตัวเมียจะสั้นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ปลากัด
มีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมีย แม้มีอายุเท่าๆ กัน


ปลากัดเขมร

6.ปลากัดเขมร
เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยง

ปลากัดจีน

5.ปลากัดจีน
เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงามฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะไม่มีความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม

ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ

4.ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ
เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะนอกจากจะกัดเก่ง ทรหดอดทนแล้ว ยังมีสีสันตามลำตัวสวยงาม เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ปลากัดหม้อจะมีลักษณะตัวโตกว่าปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง แต่ครีบหางครีบหลังจะสั้นกว่า หางสั้นเป็นรูปพัดไม่ค่อยตื่นตกใจง่าย ส่วนตัวเมียครีบหางครีบหลังและตะเกียบสั้น สีซีดกว่าตัวผู้ ปลากัดหม้อเกิดจากการคัดสายพันธุ์ลูกทุ่งลูกป่า จับมาเลี้ยงมาฝึกให้ต่อสู้และอดทน ผสมพันธุ์กันจนได้สายพันธุ์ใหม่กันขึ้นมาว่ากันว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน

ปลากัดที่คนไทยนิยมเลี้ยง

3.ปลากัดที่คนไทยนิยมเลี้ยง
         ปลากัด(Battle Fish) เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนองบึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นๆ น้ำค่อนข้างใส น้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปราย ชอบว่ายน้ำช้าๆ บริเวณผิวน้ำ
ปลากัดลูกทุ่งหรือปลากัดลูกป่า
เป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไปขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาวครีบก้น ครีบหลังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีดและมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้องระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไว แต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้

ลักษณะของปลาพลวงหิน

2.ลักษณะของปลาพลวงหิน   ลำตัวทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อย หัวมน ปากเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือ เหลือบสีทอง ด้านข้างมีสีเหลือบเงิน มีแถบสีคล้ำพาดยาวไปถึงโคนหาง ครีบหางเว้าลึก เป็นแฉก มีแถบสีคล้ำที่ขอบทั้ง 2 แฉก อาหารของปลาพลวง แมลง พืช และผลไม้ และถิ่นอาศัยของปลาพลวง มักอยู่ร่วมกันเป็นฝูง บริเวณน้ำตกและลำธารบนภูเขาที่มีน้ำไหลแรง
ลักษณะของสีข้างลำตัว ประกอบด้วยแถบสีจำนวน 4 สี (เมื่อนับล่างส่วนท้องขึ้นมาด้านหลังปลา) 
แถบที่ในส่วนท้องเกล็ดจะเป็นสีขาวทอดยาวจากมุมปากด้านล่างไปถึงโคนห่าง 
แถบที่   2 ในส่วนที่ถัดมาเป็นแถบสีดำพาดยาวตั้งแต่ด้านหลังตาไล่ตามเส้นข้างตัวถึงโคนห่าง
แถบที่   3   ในส่วนที่ถัดขึ้นมาเหนือเส้นข้างลำตัวเป็นแถบสีเหลืองปนสีเขียวอ่อนๆ โดยเริ่มปรากฏสีตั้งแต่ด้านหลังตาถึง   โคนห่าง
แถบที่   4   แถบสุดท้ายเป็นสีเขียวปนเหลืองอ่อนๆ เริ่มตั้งแต่ส่วนหัวเหนือปากด้านบน ถึงโคนห่าง   
เที่ยวดูปลาพวงหิน ไปกลับหมูหิน.คอม http://www.moohin.com/trips/chanthaburi/priew/

ปลา

     
     1.ปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ทางภาคเหนือมีชื่อเรียกว่า ปลามุง ภาคกลางและ ภาคใต้เรียกว่าปลาพลวง หรือพลวงหิน เป็นปลาในตระกูล Cyprinidae ที่มีขนาดกลาง น้ำหนักมากที่สุด พบที่ถ้ำปลาจังหวัดแม่ฮ่องสอน 15-20 กิโลกรัม ยาว 1 เมตร ลำตัวยาว แบนด้านข้าง มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็กมีหนวด 2 คู่ อยู่บนปาก (Rostral barbels) และมุมปาก (Maxillary barbells) ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว เขียวปนน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลปนดำเข้ม ซึ่งสีของปลาชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ (กรมประมง, 2525) จะมีแถบสีดำเริ่มจากบริเวณหัวหลังตาเรื่อยไปจนถึงโคนหาง 

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นกแก้วหัวเพชร

1.นกแก้วหัวเพชร

อุปนิสัยนกแก้วคอนัวร์

         11.อุปนิสัย
  นิสัยเรียกร้องความสนใจ เมื่อ นกคอนัวร์ รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณอาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์
         
การอาบน้ำ นกคอนัวร์ รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน
      
    การขบฟัน นกคอนัวร์ จะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก
         
การเช็ดปาก หลังมื้ออาหารทุกมื้อ นกคอนัวร์ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะ หรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่
         
  กายกรรมแบบนก ๆ กิริยาที่ นกคอนัวร์ ทำคล้ายกับการบิดขี้เกียจ ยืดแข้งยืดขา ซึ่งถือเป็นปกติธรรมดาของนก
         
การกัด เป็นการแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของ นกคอนัวร์ ที่อาศัยอยู่ในป่า การกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบ ๆ ตัวของมันอยู่
         
การนอนกลางวัน การนอนกลางวันเป็นการงีบหลับ นกคอนัวร์ จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก
         
การเคี้ยว นกคอนัวร์ ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลา

นกคอนัวร์

10.นกคอนัวร์ (Conure)   
        
  นกคอนัวร์ (Conure) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ นกแก้ว ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบละตินอเมริกา จากเม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว โดย นกคอนัวร์ เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่
         ทั้งนี้ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura

          
Aratinga จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายพันธุ์ ซันคอนัวร์(Sun conure) บลูคราวน์(Blue-crowned conure) เจนเดย์(Jenday conure)

        
 Pyrrhura จะมีสีสันที่เข้มขึ้น เช่น สีเขียวแก่ น้ำตาลเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่าง Pyrrhura ได้แก่ สายพันธุ์ แบล็คแค็พ (Black-capped conure) เพ้นท์เท็ด (Painted conure)

การเลี้ยงดู

8.การเลี้ยงดู
สำหรับการเลี้ยงนกแก้วโม่งในครอบครองนั้น ผู้เลี้ยงควรต้องศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมความเป็นอยู่, ลักษณะนิสัย รวมทั้งการจัดการด้านอาหารและสถานที่เลี้ยงให้ถูกต้อง เพราะการเลี้ยงนกที่ผิดไปจากธรรมชาติถิ่นที่อยู่เดิมนั้น ปัญหาประการหนึ่งก็คือ "ความเครียด" ของนก ดังนั้นการจัดหาความพร้อมทั้งสถานที่,อุปกรณ์ อาหารการกินที่เหมาะสม อาจช่วยให้นกได้รู้สึกมีความสุขและลดความเครียดลง รวมทั้งยังพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเป็นนกในฐานะสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้อย่างมีความสุข และมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป

อาหารนกแก้ว

5.  อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
1.เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว
2. ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด
3. อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ
4.กระดองปลาหมึก, ทราย

วิธีเลี้ยง

4.วิธีเลี้ยง
1.                     เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควรใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออกคือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว
2.                     เลี้ยงด้วยกรงภายใน ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตุได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี
เลี้ยงด้วยกรงภายนอก การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป

ถิ่นอาศัย, อาหาร

3.ถิ่นอาศัย, อาหาร
    
พบในอินเดีย ชอบอยู่อาศัยบริเวณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น เขตแพร่กระจายสามารถพบเห็นได้ที่ พม่า อันดามัน ลาว อินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
    
นกแก้วโม่งชอบหาอาหารเป็นฝูงเล็ก ๆ อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ สามารถใช้ปากเกาะเกี่ยวเคลื่อนตัวไปตามกิ่งไม้ได้ดี
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
    
หากินอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ นอนบนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ ส่งเสียงร้องกันระงม สามารถพูดได้เมื่อนำมาเลี้ยงให้เชื่อง เวลาบินจะบินเป็นฝูงเล็กๆ 8-10 ตัว ชอบเกาะตามยอดไม้
    
นกแก้วโม่งผสมพันธุ์ระหว่างเดือน ธันวาคม - มีนาคม ทำรับอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2 - 4 ฟอง
สถานภาพปัจจุบัน
    
เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม
     
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
 

ชนิดและพันธุ์นกแก้ว

2.ชนิดและพันธุ์นกแก้ว
  • ครอบครัวแพร์รัทส์ (Parrot)
  • พันธุ์คอคคาทู (Cockatoos)
  • พันธุ์มาคอว์ (Macaws)
  • พันธุ์เลิฟเบิรด์ (Lovebird)
  • พันธุ์พาร์ราคีท (Parrakeets)

นกแก้ว

นกแก้ว
    นกที่คนไทยชอบเลี้ยงมาแต่โบรานมีนกแก้วรวมอยู่ด้วย เพราะนกแก้วสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ กล่าวกันว่ามันมีความจำดี เรียนรู้
ได้เร็ว ถ้าพูดอะไรให้ฟังบ่อยๆก็สามารถพูดได้     กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับไปบุกอินเดียได้ทอดพระเนตรเห็นนกแก้วเข้า ก็ชอบพระทัยได้ทรงนำกลับ
ยุโรปด้วยและในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมมาก ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นนกแก้วจึงมีราคาแพงมาก จึงได้มีการค้าขายนกแก้วทั้งในยุโรปและเอเชีย การที่คนเราชอบเลี้ยงนกแก้วนั้นเห็นจะเป็นเพราะเหตุ 4 ประการ
1.                     นกแก้วมีสีสวย รูปร่างงดงาม
2.                     สามารถพูดเลียนภาษามนุษย์ได้
3.                     เลี้ยงง่าย
4.                     อายุยืน (ในเรื่อง Popular Pet Birds ของ R.P.N. Sinha กล่าวว่า นกแก้วมีอายุยืนมาก อาจอยู่ได้ถึง 70 ปี)